บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

การกระทำอันไม่สมควรต่อธงชาติและบทกำหนดโทษ

รูปภาพ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 การกระทำต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพ มีดังนี้ [32] การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ได้แก่ การกระทำต่อธงชาติรูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ ด้วยเจตนาเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า ซึ่งเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย การกระทำที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ เช่น การประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นในผืนธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีของธง การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงอันมีลักษณะตามข้อ (1) การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงไว้ ณ สถานที่หรือวิธีอันไม่สมควร การประดิษฐ์ธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใด ๆ โดยไม่สมควร แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตามข้อ (4) การกระทำการต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพมีความผิด ต้องระวางโทษตามกฎหมายดังนี้ [33] [23] กระทำการใด ๆ ต่อธงชาติหรือเครื่องหมายอื่นใด อั

ธงชาติไทย

ในพระราชนิพนธ์ " เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ " ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ภายใต้พระนามแฝง "วรรณะสมิต" ตีพิมพ์ในนิตยสารดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ สำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา เล่มที่ 1  พ.ศ. 2461  หน้า 42 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า ขอร่ำรำพันบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และพระธรรมคุ้มจิตไทย แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์ จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย วิชิตก็ชูเกียรติสยาม ฯ สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ ชาติ   สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่ง พระรัตนตรัย และ ธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนทาง พระพุทธศาสนา   สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์ พระมหากษัตริย์   [16]   แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้ คนไทย เกิดสำนึกความเป็น ช
รูปภาพ
ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้แต่เพียงความว่า มีการใช้ธงสำหรับเป็นเครื่องหมายของกองทัพกองละสีและใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และยังไม่มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน [3] ในพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้กล่าวตามความในจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งว่า ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  แห่ง กรุงศรีอยุธยา  ( พ.ศ. 2199  -  พ.ศ. 2231 ) เรือค้าขายของ ฝรั่งเศส ลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ของไทยไว้ว่า ปกติคนต่างชาติที่ล่องมาทางเรือจะไปอยุธยา ต้องผ่านเจ้าพระยา ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกิดที่ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือป้อมฝรั่ง เพราะพระยาวิชเยนทร์ เกณฑ์แรงงานฝรั่งมาสร้างไว้ ปัจจุบันคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ปกติเรือสินค้าสำคัญ เรือที่มากับราชทูตที่จะผ่านต้องมีธรรมเนียมประเพณีคือ ชักธงประเทศของเขาบนเรือ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิง สลุต คำนับตามธรรมเนียม ซึ่